เชื่อว่าหลายคนต้องรู้จักและเคยรับประทานเห็ดเป็นแน่ เห็ด...จัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร มีหลากหลายชนิด มีทั้งชนิด
ที่รับประทานได้และรับประทานไม่ได้
ซึ่งในเห็ดที่นำมารับประทานได้นั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด
อีกทั้งยังมีประโยชน์กับร่างกายอย่างมาก
และเห็ดที่เรานำมาเป็นตัวอย่างให้ดูนั้นล้วนแล้วแต่สามารถนำมาประกอบอาหาร
เพื่อเป็นเมนูสุขภาพใช้ในการลดน้ำหนัก แถมยังลดไขมัน
ลดคลอเลสเตอรอลได้ดีทีเดียว ตามมาดูดีกว่าว่ามีเห็ดชนิดไหนบ้างคะ
.
1. เห็ดฟาง
.
เห็ดฟางสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด
และอีกสารพัดวิธี ซึ่งในเห็ดฟาง 100 กรัมนั้นจะมีเพียง 35
กิโลแคลอรี่เท่านั้น อีกทั้งยังประกอบไปด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต
แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอะซิน และวิตามินซี
ซึ่งเห็ดฟางนั้นมีสรรพคุณช่วยลดปัญหาเรื่องไขมันในเส้นเลือดได้
หากรับประทานเป็นประจำก็จะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป
เหมาะที่จะนำมารับประทานเพื่อลดน้ำหนักและคุมน้ำหนักได้ดีทีเดียว
.
2. เห็ดหลินจือ
.
เป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลายจัดเป็นยาอายุวัฒนะ
นิยมนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกาย ซึ่งเห็ดหลินจือมีสรรพคุณมากมาย อาทิ
มีส่วนช่วยต่อต้านมะเร็ง, ช่วยลดความดันโลหิต, ลดไขมันในเลือด,
ลดน้ำตาลในเลือด, ควบคุมเบาหวาน และอื่นๆ
.
3. เห็ดหอม
.
เห็ดที่หลายคนโปรดปราน
นอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้วนั้นยังจัดได้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
ซึ่งในเห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine
ที่สามารถช่วยให้ไตย่อยคลอเลสเตอรอลได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)
ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์
นอกจากนี้แล้วยังช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้อีกด้วยคะ
.
4. เห็ดนางฟ้า
.
เห็ดนางฟ้า 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 35 กิโลแคลอรี
ในเห็ดนางฟ้าประกอบไปด้วย โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต แถมยังมีไขมันต่ำมาก ๆ
จึงไม่ทำให้อ้วนอย่างแน่นอน
.
5. เห็ดนางรม
.
จัดเป็นเห็ดตระกูลเดียวกันกับเห็ดนางฟ้าและเห็ดเป่าฮื้อ
อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อย่างเช่น โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, แคลเซียม,
ฟอสฟอรัส, โปแทสเซียม, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2 ฯลฯ
มีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนักได้ดีทีเดียว
.
6. เห็ดเป่าฮื้อ
.
เห็ดเป่าฮื้อประกอบไปด้วย โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, แคลเซียม,
ฟอสฟอรัส, ไนอะซิน, ธาตุเหล็ก และวิตามินต่างๆ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด,
ป้องกันท้องผูก รวมไปถึงช่วยป้องกันมะเร็ง
.
7. เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญอง
.
เห็ดที่มีแคลอรี่ต่ำมาก 100 กรัมให้พลังงานเพียง 16
กิโลแคลอรี่เท่านั้นเอง ในเห็ดดังกล่าวนี้ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต,
ไขมัน, ใยอาหาร, โปรตีน, แคลเซียม ฯลฯ
ซึ่งเห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญองก็มีสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือดได้ไม่ต่างจาก
เห็ดชนิดอื่น ๆ
อีกทั้งยังเป็นเห็ดที่เหมาะกับผู้หญิงอย่างมากเพราะสามารถช่วยป้องกันการ
เกิดมะเร็งเต้านม แถมยังมีสารเลนติแนน Lentinan ที่สามารถต่อต้าน
เนื้องอกและมะเร็งได้อีกหลายชนิดเลยทีเดียว
.
8. เห็ดหูหนู
.
เห็ดที่สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดนิยมนำมาประกอบอาหารหลากหลาย
ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงเหมาะอย่างยิ่งกับเห็ดชนิดนี้
.
9. เห็ดยานางิ หรือ เห็ดโคนญี่ปุ่น
.
เป็นเห็ดอีกหนึ่งชนิดที่มีรสชาติอร่อย
มีสรรพคุณเด่นคือลดไขมันและคลอเลสเตอรอลในเลือด
แถมยังสามารถล้างพิษในตับและป้องกันมะเร็งได้อีกด้วย
.
10. เห็ดเข็มทอง
.
สุดยอดเห็ดที่มีเส้นใยอาหารสูงและเป็นที่นิยมของคนรักสุขภาพ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดไขมัน, ลดอาการท้องผูก, ลดน้ำหนัก ฯลฯ
.
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
บ้านเห็ด ลุงเจ
รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเห็ด การเพาะเห็ด และอีกหลายอย่างเกี่ยวกับเห็ด
วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557
การเพาะเห็ดหอม

การเพาะเห็ดหอมจากขี้เลื่อย
การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง
ข้อควรทราบ ต้นทุนในการเพาะเห็ดหอม (โดยประมาณ)
เงินลงทุน : ประมาณ 45,000 บาท (ทุนหมุนเวียน 25,000 บาท/เห็ด 1 ชุด) รายได้ : 100,000 บาท/เห็ด 1 ชุด

วัสดุอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ที่ได้ผลดี คือ ขี้เลื่อยไม้มะขามรองมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. รำข้าว 5 กก. น้ำตาลทราย 2 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ยิบซั่ม 0.5 กก. ผสมน้ำให้มีความชื้น 55-65%
2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ
4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผลผลิต
โรงเรือนเพาะเห็ดหอม
โรงเรือน โรงเรือนเพาะเห็ดหอมต้องสะอาด มีการถ่ายเทอากาศสะดวก เก็บความชื้นได้ดี และมีแสงสว่างพอสมควร ถ้าอากาศถ่ายเทไม่สะดวกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมจะทำให้ก้านเห็ดยาวกว่า ปกติ ถ้ามืดเกินไปจะทำให้ดอกซีดและก้านดอกยาว โรงเรือนเพาะเห็ดทั่วไปมักจะมุงด้วยใบจากหรือหญ้าคา และใช้ใบจากหรือหญ้าคาเป็นฝาด้วย การใช้ผ้าพลาสติกขึงข้างฝาโรงเรือน จะช่วยให้โรงเรือนเก็บความชื้นได้ดี และป้องกันลมกรณีที่มีลมโกรกแรง การทำหลังคาสูงจะช่วยให้โรงเรือนโปร่งและ
วิธีการเพาะ
1. ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออก ส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว

3. แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเป็นเวลา 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ด้วยความดัน 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (หรือใช้ถังนึ่งไม่อัดความดันก็ได้ผลดีพอควร โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสม่ำเสมอ เป็นเวลา2-4 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอน้ำไว้ตลอดเวลาด้วยการปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิภายในถัง นึ่ง 85-100 องศาเซลเซียสตลอดเวลา) แล้วทิ้งให้เย็น
4. แกะกระดาษหรือฝาครอบออก เปิดจุกสำลีแล้วใส่เชื้อเห็ด (นิยมใช้หัวเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง) ควรทำในบริเวณที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แล้วนำไปบ่มเส้นใย
การบ่มเส้นใย
ระยะเวลาที่บ่มเส้นใย 3-4 เดือน ขึ้นกับน้ำหนักอาหารที่ใช้ หรือมีการสร้างตุ่มดอกประมาณ 2/3 ของก้อนเชื้อ
อุณหภูมิ
การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุดคือที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การทำห้องหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้สำหรับบ่มเส้นใยอย่างง่าย เช่น ทำจากหญ้าคา, จากฟาง, ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็ได้ และมีการให้น้ำภายนอกโรงเรือน หรือบริเวณพื้นโรงเรือนเป็นครั้งคราวเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส

ระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศในระดับปกติ คือ ประมาณ 50% ไม่ต้องให้น้ำที่ถุงเห็ด ถ้ามีความจำเป็นต้องให้น้ำโรงเรือนต้องระวังมิให้น้ำถูกสำลีที่จุกปากถุง เพราะจะเป็นทางทำให้เกิดเชื้อโรคไป ทำลายเชื้อเห็ดได้

อากาศ
การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเจริญของดอกเห็ด และทำให้มีการสะสมเชื้อโรคน้อยลง ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวดเห็ดอาจจะไม่เจริญหรือมีลักษณะผิดปกติอื่น ๆ แสง


หลังจากบ่มเส้นใยสมบูรณ์แล้ว ให้แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น 2 ชั่วโมง หรือค้างคืนก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก
การให้ผลผลิต
โดยเปิดปากถุงให้ออกดอกทางด้านบนหรือเปลือยก้อนเชื้อโดยแกะถุงพลาสติกออก ทั้งหมดให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด ถ้าต้องการเห็ดดอกใหญ่ก็เปิดให้มีการเกิดดอกเป็นบางส่วน การเปลือยก้อนเชื้อจะได้ดอกเห็ดจำนวนมากแต่ดอกจะเล็ก และอาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคหรือถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย ผลผลิตดอกเห็ดสดจะได้ 50-400 กรัมต่อก้อนเชื้อ 1/2 - 1 กก. ขึ้นกับความใส่ใจและเทคนิควิธีการของผู้เพาะเห็ด
การเก็บผลผลิต และ การทำแห้ง
ในการเก็บผลผลิตนั้น ควรเก็บดอกเห็ดขณะที่หมวกเห็ดยังไม่บานเต็มที่ หรือขอบหมวกยังงุ้มอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ และอย่าได้ส่วนของดอกเห็ดเหลือติดอยู่ที่ก้อนเชื้อ จะทำให้เน่าเสียและเกิดโรค ในขณะที่เก็บผลผลิตถ้ามีการให้น้ำที่ดอกเห็ดมากเกินไปจะทำให้ดอกเห็ดเน่า เสียง่าย ถ้าไม่มีการให้น้ำดอกเห็ดเมื่อเก็บดอกเห็ดแล้วใส่ถุงพลาสติกไว้จะสามารถเก็บ ไว้ในตู้เย็นได้นาน 3-4 สัปดาห์

การทำแห้งเห็ดหอม ทำได้ 2 วิธี
1.การตากแห้ง
โดยตากแดด จนกว่าดอกเห็ดจะแห้งสนิท ควรหลีกเลี่ยงตากแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทำให้ดอกเห็ดไหม้เกรียมและควรคว่ำดอกเห็ดให้ครีบอยู่ด้านใต้ เพื่อป้องกันครีบสีคล้ำ การตากแดดเป็นวิธีลดความชื้นในดอกเห็ดในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ดอกเห็ดยุบตัวมากเมื่อดอกเห็ดแห้งสนิทดีแล้ว เก็บในภาชนะที่กันความชื้น มิฉะนั้นอาจจะมีเชื้อราเกิดขึ้นได้

ใช้ลมร้อนค่อย ๆ ลดความชื้นภายในดอกเห็ด ซึ่งจะได้เห็ดที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเห็ดที่ตากแดด การอบใช้อุณหภูมิ เริ่มแรกประมาณ 30 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละ 1-2 องศา ทุก 1 ชั่วโมง จนถึง 50 องศาแล้วเพิ่มให้เป็น 60 องศาและรักษาอุณหภูมิระดับนี้ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มรสชาติ กลิ่น และทำให้ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเงาสวยงาม
- ราคาส่งดอกใหญ่(ดอกสด) 190 บาท กลาง 100บาท เล็ก 80 บาท
- ติดต่อส่งขาย ที่ตลาดสด(ถ้ามีจำนวนไม่มากนัีก) ส่งขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่ ตลาดไทย(ถ้ามีจำนวนมาก)
- ตั้งร้านขายริมทาง หน้าโรงเพาะเห็ดของคุณเอง
- เห็ดหอม สามารถขายได้ทั้งดอก และก้านดอก แต่คุณต้องตาก ก้านดอกที่ตัดมาให้แห้งเสียก่อน แล้วส่งขายร้านขายอาหารเจ (มีเท่าไรเขารับหมด) ส่วนตัวดอก ก็ตากแห้เช่นกัน แล้วส่งขาย ตลาด โรงแรม(รับทั้งสด และแห้ง ดอกขนาดกลาง) ร้านอาหารเจ
1. เวลาเคาะเชื้อเห็ดหอมใส่ในก้อนเชื้อให้เขย่า
หรือเคาะขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกันแล้วใส่ลงไปในถุงวัสดุเพาะ ถุงละ
5 – 6 เม็ด ใส่สำลีปิดอย่างเร็ว
ไม่อย่างนั้นจะมีการปนเปื้อนเชื้อตัวอื่นสูง
1. กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 02-561-4878 หรือ 02-579-3863
2. สำนักงานเกษตรจังหวัด , อำเภอ
3. ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก โทร. 02-441-9263 , 02-889-8740-47
แนะนำสถานที่ฝึกอบรม :
1. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942- 8200-45ต่อ 1336 – 1339
2. ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก เลขที่ 3 หมู่ 8 ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
แหล่งที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
การเพาะเห็ดโคนน้อย

เห็ดโคนน้อย มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคไพรนัส ไฟมิทาเรียส (Coprinus fimetarrius) จัดอยู่ใน ตระกูลเห็ด (Basidiomycetes ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป มีชื่อเรียกตามวัสดุเพาะ เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลืองหรือ เห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)เห็ดโคนเพาะ

และเปลี่ยนเป็นสีดำและสลายตัว เป็นที่มาของชื่อเห็ดหมึกซึ่งไม่สามารถนำมาบริโภคจึงมีระยะเวลาในการให้ผล ผลิตค่อนข้างสั้น นอกจากจะทำการลวกให้สุกเสียก่อนก็พอที่จะามารถเก็บได้นานขึ้น ทั้งนี้

เนื่องจากเห็ดโคนน้อยมีการเจริญเติบโตเร็ว ส่วนของครีบจะสลายกลายเป็นของเหลวสีดำคล้ายหมึกเป็นผลมาจากการย่อยตัวเอง (autolysis) อย่างไรก็ตามในต่างประเทศ ได้มีการนำของเหลวจากการสลายตัวนี้มาใช้ประโยชน์ได้เช่นทำน้ำหมึกเพื่อทำต้น ฉบับเอกสารพิเศษเพื่อป้องกันการปลอมแปลง
ขั้นตอนการเพาะ
สูตรอาหารสำหรับ 100 ตะกร้า
- ฟางแห้ง 100 ฟ่อน
หรือใช้ฟางโม่ 150 กก.
- น้ำ 400 ลิตร
- รำละเอียด 2 กก.
- ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 2 กก.
- ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท สูตร 15-0-0 4 กก.
- กากน้ำตาล 2 กก

วันที่ 1 (วันแรกที่เริ่มปฏิบัติ ไม่ใช่วันในปฏิทิน)
1. ต้มน้ำ ประมาณ 150 ลิตร ในถัง(ถังน้ำมัน 200 ลิตรที่ผ่า 3ใน4) เติมรำละเอียด 1กก. กากน้ำตาล 1 กก. ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทสูตร 15-0-0 2 กก. ปุ๋ยยูเรีย 1 กก. ต้มน้ำจนเดือดเป็นไอขึ้นมา
2. นำฟางแห้งลงต้มหรือลวกจนกระทั่งฟางนิ่ม แล้วตักขึ้นนำไปกองไว้
3. นำพลาสติกมาคลุมกองฟางที่ลวกแล้ว (คลุมให้มิดชิด) บ่มทิ้งไว้ 1 คืน

1.นำเชื้อเห็ดมายีให้ร่วน (ขยี้เบา ๆ ) นำมาคลุกกับอาหารเสริม (แป้งข้าวเหนียวผสมรำละเอียดอัตราส่วน 1:1ส่วน) ใช้อัตรา 1 กำมือต่อหัวเชื้อเห็ด 1 ถุง
2. วางตะกร้าพลาสติกสำหรับเพาะเห็ดที่เตรียมไว้วางบนพื้นที่สะอาด( แต่ต้องปูพลาสติกหรือกระสอบฟางรองพื้นก่อน)
3. นำตะกร้าที่ตัดก้นออกสวมลงในตะกร้าเพาะอีกชั้นเพื่อทำเป็นแบบพิมพ์
4.นำฟางที่ลวกแล้วที่เตรียมในวันที่ 1ใส่ลงในตะกร้าเพาะเป็นชั้น ๆ ดังนี้
4.1 ชั้นที่ 1 ใส่ฟางลงในตะกร้าหนาประมาณ 3-5 เซนติเมตรใช้มือกดให้แน่น โรยเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ให้ทั่วผิวหน้าฟาง

4.3 ชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 ปฏิบัติเหมือนเช่นชั้นที่ 2
4.4 ชั้นที่ 5 โรยเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าฟางแล้วทับด้วยฟางหน้าประมาณ 3-5 เซนติเมตร
4.5ใช้เท้าเหยียบกดก้อนฟางเบาๆเพื่อดึงตะกร้าแบบพิมพ์ออก แล้วจัดก้อนฟางให้เรียบร้อย
4.6 นำตะกร้าวัสดุเพาะที่เสร็จแล้วมาวางรวมกันไว้ ทำจนครบ 100 ตะกร้าแล้วค่อยนำเข้าไปแขวนบ่มโรงเรือน

4.8 นำตะกร้าวัสดุเพาะเข้าแขวนหรือวางเรียงในโรงเรือน โดยก่อนย้ายเข้าให้พ่นน้ำในโรงเรือนให้ มีความชื้นเสียก่อน
4.9 นับจากวันแรกที่ย้ายวัสดุเพาะเข้าโรงเรือนจนครบ 5 วัน ให้รักษาอุณหภูมิใน โรงเรือนให้ได้ประมาณ 35-38 องศาเซลเซียส และรักษาความชื้นให้ได้ 80 % โดยปิดพลาสติกโรงเรือนให้มิดชิด
4.10 เห็ดโคนน้อยจะเริ่มออกดอกเห็ดให้เก็บผลผลิตได้ประมาณวันที่ 5-6 หลังจากที่นำตะกร้าวัสดุเพาะไปบ่มไว้ในโรงเรือน และจะทยอยเก็บดอกเห็ดได้ติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลาประมาณ 10-15 วันปริมาณผลผลิตต่อตะกร้าวัสดุเพาะประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศว่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดแต่ ละครั้งในการเพาะ
การดูแลและทำความสะอาดดอกเห็ดหลังเก็บเกี่ยว

สนใจสามารถติดต่อได้ที่ ฐานเรียนรู้เห็ดแม่โจ้ อาจารย์สันต์ชัย มุกดา นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ฐานเรียนรู้เห็ดแม่โจ้ หลักสูตรสาขาวิชาอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0 5387 5840 หรือ 08 9554 2325 (อาจารย์ สันต์ชัย มุกดา)หรือ 08 5614 8291(คุณไวกูณฑ์ อินทรคุปต์)

อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9
แหล่งที่มา : สำนักงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร
วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557
ความสำคัญของเห็ด
- เห็ดเกิดจากเชื้ออรา พบอยู่ในธรรมชาติจำนวนมากกว่า 100,000 ชนิด เห็ดที่่สามารถเจริญ เติบโตได้ตามพื้นที่ซึ่งมีความชื้น อุณหภูมิที่เห็ดต้องการ เห็ดแบ่งได้เป็น เห็ดรับประทานได้ และรับประทานไม่ได้ ปัจจุบันในประเทศไทยนิยมเพาะเห็ดเป็นการค้าประมาณ 10 กว่า ชนิด ได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดหลินจือ เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดแชมปิญอง เห็ดขอนขาว เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดเข็มเงินเข็มทอง เห็ดตีนแรด เป็นต้น
เห็ดฟาง
เห็ดนางฟ้า
เห็ดหลินจือ
เห็ดหูหนู
เห็ดหอม
เห็ดแชมปิญอง

เห็ดขอนขาว
เห็ดโคนญี่ปุ่น(ยานางิ)
เห็ดเข็มเงินเข็มทอง
เห็ดตีนแรด
การเพาะเห็ดในประเทศไทย นับว่ามีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งเป็นอาชีพเสริมและเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงต้องการอาหารโปรตีนที่ราคาไม่แพงแต่มีคุณ ค่าอาหารสูง ปลอดจากสารเคมี ตลาดจึงมีความต้องการสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งเห็ดสด เห็ดแห้ง และเห็ดกระป๋อง
เห็ดเป๋าฮื้อ

เนื่องจากเห็ดเป๋าฮื้อเป็นเห็ดที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับเห็ดหอม จึงมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงมาก จะต่างกันก็ที่ดอกใหญ่และหายากกว่า สีดอกระยะแรกจะมีสีค่อนข้างคล้ำจนดำเมื่ออายุมากขึ้นจะค่อย ๆ จางลง
และเป็นสีน้ำตาลอ่อนเมื่อแก่จัด ตามปกติจะขึ้นได้ดีในฤดูหนาว แต่เนื่องจากเห็ดเป๋าฮื้อมีการปรับตัวต่ออุณหภูมิได้ค่อนข้างสูง ฉะนั้น ในปัจจุบันจึงสามารถที่นะเพาะเห็ดเป๋าฮื้อได้ผลดีทุกฤดูกาล ในทุกภาคของประเทศไทย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเห็ดเป๋าฮื้อ
1. แสงสว่างแม้ว่าเห็ดเป๋าฮื้อจะไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างในการปรุงอาหาร

แต่ถ้าแสงน้อยหรือไม่มีแสงจะกระตุ้นการเจริญของก้านดอก นอกจากนี้ถ้าเห็ดเป๋าฮื้อเจริญในที่มืด หมวดดอกจะมีสีเข้ม แต่ถ้าเห็ดเป๋าฮื้อเจริญเติบโตในแสงสว่าง หมวกดอกจะมีสีจางลง
2. ความชื้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดเป๋าฮื้อมาก เห็ดพวกนี้ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงมาก จึงจำเป็นต้องเพาะในโรงเรือนเพาะเห็ด ความชื้นภายในโรงเรียนที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 90-95 เปอร์เซ็นต์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้ดอกเห็ดมีขนาด ใหญ่และมีน้ำหนักมาก
3.อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ เห็ดเป๋าฮื้อควรอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 36 องศาเซลเซียส เห็ดจะไม่ออกดอกหรือดอกที่ออกจะมีลักษณะ แคระแกรนมีรูปร่างผิดปกติ
การผลิตก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ
1. การผลิตก้อนเชื้อโดยใช้ฟางหมัก
นำฟางที่สับเรียบร้อยแล้ว(ยาว 2-8 นิ้ว) มาแช่น้ำหรือรดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่ฟางสะเด็ดน้ำแล้ว นำมาผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ตามสูตร โดยหมักเป็นกองสูงแล้วคลุมด้วยพลาสติก หลังจากหมักได้ 3 วัน รอบ ๆกองฟางจะแห้ง ให้ใช้บัว รดน้ำรอบ ๆ ขอบกองฟางจากนั้นให้พลิกกองปุ๋ยหมัก ตีก้อนปุ้ยให้แตกแล้วนำมาคลุกกับปูนขาว หมักต่ออีก 3 วัน เมื่อครบ 3 วันแล้ว ให้พลิกกองปุ๋ยหมัก และให้หมักต่อเป็นรูปเจดีย์ โดยกองแบบหลวม ๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเทให้มากที่สุด ทิ้งไว้ 1 วัน วันรุ่งขึ้นให้ผสมรำข้าง เสร็จแล้วให้บรรจุถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ควรจัดใส่ถุงให้หมดภายในวันนั้น และควรนำก้อนเชื้อไปนึ่งในหม้อนึ่งลูกทุ่งทันทีเพราะถ้าทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ยากต่อการกำจัด ซึ่งในภายหลังจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ในขั้นตอนการออกดอกได้
นำฟางแช่ในท่อปูนโดยย่ำให้ฟางจมน้ำ และนุ่น แล้วนำมากองเกลี่ยให้เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร บนพื้นปูน โรยฟางหนาประมาณ 3-4 นิ้ว หว่านปุ๋ยหรือแอมโมเนียซัลเฟต และโรยฟางสลับกันจนหมดฟางและปุ๋ยโดยกำหนดฟาง และปุ๋ย โดยกำหนดฟางและปุ๋ยให้พอดี ปุ๋ยจะกระจายทั่วกองฟาง กองฟางจะอยู่ในลักษณะทรายคว่ำสูงประมาณ 1.2-1.5 เมตร เอาผ้าพลาสติกคลุมให้มิดชิดทิ้งไว้ 3 วัน แล้วให้กลับกองฟางครั้งที่สองพร้อมกับใส่ปูนขาวแล้วใช้ ผ้าพลาสติกคลุมไว้ตามเดิมทิ้งไว้อีก 3 วันให้กลับกองฟางใส่รำแล้วบรรจุลงเพาะเห็ดตามกรรมวิธีการ เพาะเห็ดทั่วไปแล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนใส่เชื้อเห็ดลงไป
สูตรที่ใช้ในการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ การผลิตก้อนเชื้อจากฟางข้าว
สูตร 1
ฟางเส้น(ยาว 4-6 นิ้ว) 100 กิโลกรัม
ยูเรีย(แอมโมเนียนซัลเฟต 2
กิโลกรัม) 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม ปุ๋ยดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต 1กิโลกรัม
รำละเอียด 3 กิโลกรัม
สูตร 2
ฟางเส้น 100 กิโลกรัม
ปุ๋ยนา(สูตร 16-20-0 หรือ 18-20-0 หรือ20-20-0) 2 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
รำละเอียด 3 กิโลกรัม
สูตร 3
ฟางเส้น 100 กิโลกรัม
ยูเรีย(คลุกกับฟาง) 2 กิโลกรัม
ดีเกลือ(ใส่เมื่อกลับกองครั้งที่ 1 ) 1.2 กิโลกรัม
หินปูนหรือปูนขาว 0.5กิโลกรัม
น้ำ(ใส่เมื่อกลับกองครั้งที่ 2 ) 140-170กิโลกรัม
สูตร 4
ฟางเส้น 100 กิโลกรัม
ยูเรีย(คลุกกับฟาง) 1 กิโลกรัม
ส่าเหล้า(คลุกกับฟาง) 0.5 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
หินปูนหรือปูนขาว0.5 กิโลกรัม
น้ำ 140-170กิโลกรัม
การผลิตก้อนเชื้อจากขี้เลื่อย
สูตร 5
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา100 กิโลกรัม
รำละเอียด 5-15 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม
ดีเกลือ0.3-0.4 กิโลกรัม
น้ำ พอประมาณ
กรรมวิธีการผลิตก้อนเชื้อ
การอัดถุงทำเหมือนกรรมวิธีการการผลิตเชื้อทั่วไป ในการใช้รำผสมตามปกติยิ่งมากผลผลิตก็สูงตามไปด้วย แต่อัตราความเสียหายเนื่องจากเชื้ออื่นปะปนก็สูงตามไปด้วย ผู้เพาะเห็ดบางรายอาจใช้รำหรือข้าวโพดป่นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันในส่วนผสมขึ้นอยู่ กับสภาพของท้องถิ่นและราคาของวัตถุดิบ (ดูรายละเอียดขั้นตอน การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก)
การผลิตก้อนเชื้อจากซังข้าวโพด
ถ้าใช้ละอองซ้งข้าวโพดที่ได้จากการสีข้าวโพด ให้มาผสมกับน้ำจนมีความชื้นเหมาะสมแล้วบรรจุถุง ได้เลยไม่ต้องใช้เป็นอาหารเสริม โดยใช้ละอองซังข้าวโพด 100 กิโลกรัม ผสมกับน้ำประมาณ 100 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นซ้งข้าวโพด ให้นำไปป่นด้วยเครื่องบดแกลบ โดยตั้งเครื่องบดให้ออกมาหยาบหน่อยหรือจะใช้เครื่องบดเม็ดข้าวโพด ก็ได้แล้วนำมาเพาะเห็ดคล้ายกับขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ต้องไม่ใส่รำให้ใช้ซังข้าวโพด 100 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 100 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากัน แล้วกองเป็นรูปสามเหลี่ยม คลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 3 วันเพื่อให้ซังข้าวโพดนิ่มก่อน แล้วจึงบรรจุถุงพลาสติกทนร้อน และนำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง ทิ้งให้เย็นก่อนใส่เชื้อเห็ดลงไป
การบ่มก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ
หลังจากใส่เชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำถุงก้อน เชื้อไปบ่มในโรงบ่มเชื้อให้เป็นชั้นเดียวในลักษณะ ตั้งหรืออาจจะวางนอนซ้อนกันเป็นชั้นๆ ก็ได้ ระยะในการบ่มเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อจะใช้ประมาณ 30-45 วันเชื้อจึงจะเจริญเต็มถุง อุณหภูมิที่เหมาะต่อการบ่มเชื้อประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้เชื้อจะเจริญช้า ในขณะที่บ่มเชื้อปัญหาที่สำคัญคือโรดและแมลงศัตรูเห็ดอาจเข้าทำลาย ก้อนเชื้อได้โดยเฉพาะพวกไรและแมลงบางชนิด ดังนั้น จึงควรฉีดยาป้องกันโรดและแมลงศัตรูเห็ด เช่น เซฟวิน 85 ฯลฯ คลุมทับถุงเชื้อเอาไว้ ถ้าโรงเรือนสะอาดการฉีดยาคลุมทับลงบนถุงเห็ดก็ไม่จำเป็นมากนัก
การทำให้เห็ดเกิดดอก
หลังจากที่เชื้อเจริญเต็มถุงแล้ว ในการทำให้เกิด ดอกเห็ด ผู้เพาะเห็ดควรใช้วิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.การวางก้อนเชื้อนอนแล้วเปิดจุกสำลีให้เห็ด ออกตรงคอขวดวิธีการนี้ประหยัดพื้นที่ในการวางก้อนเชื้อ
เพราะสามารถวางซ้อนกันได้หลายชั้นหรืออาจ จะใช้วิธีมัดเป็นพวงแทนในลักษณะนอนก็ได้วิธีการวางก้อน เชื้อแบบนอนเหมาะสำหรับวัสดุที่ใช้เพาะ พวกขี้เลื่อยและซังข้าวโพดแต่วิธีการนี้ไม่สามารถคลุมผิวหน้า(casing)ของถุง เห็ดได้
2.การวางถุงตั้งจะวางติดกันเป็นแบบหน้ากระดานโดย ให้ดอกเห็ดดอกแรกออกมาทางคอขวดแต่ดอกเห็ดจะมีปัญหาหักตรงโคนได้ง่าย หลังจากเก็บดอกเห็ดรุ่นต่อไป ก็คือการคลุมดินหนา
ประมาณ 1เซนติเมตร ซึ่งจะช่วยให้ก้อนเชื้อไม่แพงเกินไป และมีความชื้นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ดินที่ใช้ต้องสะอาดและมีลักษณะดังนี้
ดินที่ปราศจากอินทรีย์วัตถุ เพราะอาจมีจุลินทรีย์เจริญลุกลามลงในถุงได้ โดยให้ขุดลอกผิวดินออกประมาณ 15 ซม. จากนั้นให้ขุดดินที่อยู่ลึกลงไป นำไปใช้คลุมผิวหน้าก้อนเชื้อได้

ดินที่ใช้ต้องปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ แมลงและไส้เดือนฝอย ถ้านึ่งฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้ได้ยิ่งดี หลังจากคลุมดินแล้วรด น้ำบนดินพอหมาดๆ อย่าให้เปียกมากเกินไป (ให้รักษาความชื้นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ) ประมาณ 5-7 วัน เส้นใยจะรวมตัวเป็นตุ่มเห็ดเล็ก ๆ จากนั้นจะขยายใหญ่และเจริญเป็นดอกเห็ดภายใน 3-4 วัน
ประโยชน์ของการใช้ดินคลุมก้อนเชื้อเห็ด
1.ดินจะช่วยอมความชื้นไว้ได้ดี ช่วยให้ดอกเห็ดเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ฝ่อ
2. ดินจะช่วยยึดฐานดอกไม่ให้เห็ดล้มได้ง่าย และช่วยบังคับไม่ให้ก้านดอกยาวมากเกินไป
3. ช่วยป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในอากาศไปทำลายก้อนเชื้อเห็ด
4.การคลุมผิวหน้าดินทำให้ก้อนเชื้อได้รับอากาศน้อยลง จึงทำให้ดอกเห็ดเล็ก ๆ ไม่เจริญและอาหารจะถูกสะสม ไว้ในก้อนเชื้อมากซึ่งช่วยให้เห็ดเกิดรุ่นต่อไปสมบูรณ์
ปัญหาในการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ

2.ดอกเห็ดแห้งฝ่อเพราะความชื้นไม่พอ ควรรดน้ำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
3.มีหนอนทำลายเชื้อเห็ด เป็นเพราะสำลีอุดจุกพื้นและ ไม่มีกระดาษหุ้มสำลีไว้ทำให้แมลงวันวางไข่ไว้
4. ไรทำลายเชื้อเห็ด ควรให้โรงบ่มอยู่ห่างจากวัสดุหมัก
5. เชื้อเห็ดเจริญแล้วหยุดส่วนที่เชื้อไม่เดินจะมีสีคล้ำ กว่าปกติเป็นเพราะวัสดุหมักผสมเปียกเกินไป
6.เชื้อราที่ขึ้นปะปนในก้อนเชื้อเกินทั่วไปไม่แน่นอน เหตุเพราะมดแดงตัวเล็กๆ หรือ แมลงกัดบริเวณข้างถุงพร้อมกับนำเชื้อราอื่น ๆ เข้าไปควรรักษาโรงเรือนให้สะอาดและฉีดยาฆ่าแมลงป้องกัน
ขอขอบคุณ : แหล่งข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร
ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต
เห็ดโคนญี่ปุ่น

ตัวอย่างการทำฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่น
ผู้ใหญ่สุภีร์ ดาหาร ทำฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่น ขายกิโลกรัมละ 200 บาท ได้ผลดี ที่บ้านหนองโข่ย อำเภอเมืองขอนแก่น
คุณสุภีร์ ดาหาร อายุ 47 ปี ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย อยู่บ้านเลขที่ 175 หมู่ที่ 19 ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (เกษตรกรรม) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเกษตรลำปาง ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ก็ไปสมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งงานที่ได้ทำส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นงานวิจัยส่งเสริมและพัฒนา หลังจากนั้นได้ไปเป็นครูอัตราจ้างอยู่ 1 ปีการศึกษา ก็หมดสัญญาจ้าง ปี 2529 ก็ไปสมัครเข้าทำงานซึ่งเป็นโครงการร่วมกับต่างประเทศของกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ จากนั้นก็เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานโครงการของกรมวิชาการเกษตรมาตลอด จนถึงปี 2547 จึงลาออกจากงานมาทำกิจการของตัวเองอย่างจริงจัง
คุณสุภีร์ ดาหาร แต่งงานมีครอบครัวแล้วเมื่อปี 2530 กับ คุณทิพยาภา ดาหาร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด ซึ่งในช่วงที่ทำงานเป็นลูกจ้างของกรมวิชาการเกษตรนั้น ได้มีโอกาสเดินทางไปปฏิบัติงานฝึกอบรม ศึกษาดูงานทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคอีสานไปทุกจังหวัด จากแนวคิดตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ซึ่งคิดไว้อยากมีฟาร์มเป็นของตนเอง ประกอบกับชอบงานที่เป็นอิสระ เพราะในช่วงที่ทำงานอยู่นั้นก็ได้ศึกษาอาชีพที่ได้ไปเห็นมา หาข้อดี ข้อเสียมาเปรียบเทียบกับสภาพพื้นที่ของตนเองว่าจะทำได้หรือไม่ ซึ่งมีที่ดินประมาณ 5 ไร่ ได้ปลูกมะม่วงไว้ 2 ไร่ ส่วนที่เหลือก็ปลูกมันสำปะหลังสลับกับข้าวโพดมาตลอด
ต่อมาปี 2540 ได้นำฝรั่งมาปลูกจำนวน 100 ต้น มะขามเทศ 50 ต้น และซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก จำนวน 2,000 ก้อน ฝรั่งที่ปลูกไว้ก็ให้ผลผลิตดี คุณภาพก็ดีในช่วงแรก แต่ก็มีปัญหาเรื่องแรงงานและต้องพ่นสารเคมีด้วย ซึ่งตนเองก็ไม่ชอบอยู่แล้ว และมะขามเทศก็มีปัญหาเช่นเดียวกับฝรั่ง
ส่วนเห็ดนั้นช่วงแรกจะเป็นเห็ดนางฟ้า โดยซื้อมาก้อนละ 4 บาท ปรากฏว่าได้ผลดีมากและก็ขายได้ราคาดี และสิ่งที่ชอบก็คือ ไม่ฉีดพ่นสารเคมี และก็ขายเห็ดได้ประมาณ 20,000 บาท หลังจากนั้นก็ได้ไปศึกษาดูงานการทำฟาร์มเห็ดจากหลายๆ แห่ง เพราะช่วงนั้นยังทำงานอยู่จึงมีโอกาสไปหลายแห่ง ซึ่งก็ได้นำข้อดี ข้อเสียของแต่ละฟาร์มมาปรับใช้กับฟาร์มของตนเอง จากนั้นก็ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์มาเก็บไว้ พร้อมกับการศึกษาดูงานการเพาะเห็ดอยู่เรื่อยๆ และศึกษาจากหนังสือต่างๆ เริ่มหัดทำอาหารวุ้น PDA และทำหัวเชื้อและเมล็ดข้าวฟ่าง ทำช่วงแรกไม่ได้ผล แล้วก็ลองทำใหม่จนได้ผล หลังจากที่เตรียมอุปกรณ์การเพาะเห็ด ประกอบกับคิดว่ามีความชำนาญจากการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาทำฟาร์มเห็ดอย่างเต็มตัว โดยในปีแรกก็เริ่มทำก้อนเชื้อเอง แต่เชื้อเห็ดได้สั่งซื้อจากที่อื่น โดยเพาะเห็ดขอนขาว จำนวน 6,000 ก้อน จำนวน 1 โรงเรือน ซึ่งให้ผลผลิตดีมาก คือเก็บผลผลิตได้ 4 เดือน คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม ซึ่งในช่วงที่เปิดดอกเห็ดขอนขาวโรงแรกนี้ ก็ได้ฝึกทำเชื้อและทำอาหารวุ้นควบคู่กันไปด้วย เมื่อเริ่มทำได้แล้วก็เริ่มซื้ออุปกรณ์ในการทำหัวเชื้อ เช่น หม้อนึ่งความดัน ถังผสม และเครื่องอัดก้อนเชื้อ ซึ่งก็ได้ทุนมาจากผลผลิตของเห็ดขอนขาวโรงแรก

เมื่อผลิตหัวเชื้อได้แล้ว ก็ได้เพิ่มการผลิตก้อนเชื้อเห็ดชนิดอื่นขึ้นอีก เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดบด เห็ดนางนวล เห็ดหัวลิง เห็ดเป๋าฮื้อ และสุดท้ายก็ได้ทดลองเพาะเห็ดยานางิ (เห็ดโคนญี่ปุ่น) ซึ่งในตอนนี้ก็สามารถผลิตหัวเชื้อเห็ดที่กล่าวมาข้างต้นได้ทุกชนิดพร้อม จำหน่าย ซึ่งการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นในช่วงแรก เมื่อได้ผลผลิตในตอนแรกแม้แต่ตนเองก็ยังไม่กล้ารับประทานสักเท่าไหร่ แต่เมื่อได้เพาะแล้วก็ต้องลองดู ปรากฏว่าอร่อยดี จากนั้นก็ให้เพื่อนบ้านลองชิมดูก็มีทั้งคนกล้าและไม่กล้า แต่เมื่อได้ลองกินดูแล้วต้องขอเพิ่มอีก จากนั้นชาวบ้านก็เริ่มจะมีความคุ้นเคยกับเห็ดชนิดนี้ ลองซื้อไปทำกินที่บ้าน หลังจากนั้นจะกลับมาซื้อใหม่อีก ซึ่งในช่วงนั้นเห็ดโคนญี่ปุ่นก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นทั้งทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์มากขึ้น คนก็เริ่มรู้จักดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้บริโภคในช่วงแรกก็จะเป็นผู้ที่ทำงานในสำนักงานหรือส่วนราชการต่างๆ แต่ช่วงหลังมาระดับชาวบ้านก็ซื้อไปประกอบอาหารมากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าเห็ดชนิดนี้เป็นได้ทั้งอาหารและยา ซึ่งเห็ดโคนญี่ปุ่นนี้จะมีข้อดีก็คือ การดูแลรักษาเหมือนเห็ดนางฟ้าแต่ราคาเท่าเห็ดหอม และก็สามารถผลิตได้ทุกฤดู อายุการให้ผลผลิตแต่ละรุ่นนาน 12 เดือน รสชาติอร่อย อ่อนนุ่ม กรอบ เมื่อเทียบกับเห็ดหอมมีความกรอบมากกว่า เป็นทั้งอาหารและมีสรรพคุณทางยาด้วย แต่จะมีข้อเสียก็คือ เมื่อให้ผลผลิตแล้วจะมีระยะพักตัวนานกว่าเห็ดชนิดอื่นคือ 20-30 วัน
เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะในถุงพลาสติกซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาและ การเพาะเลี้ยงคล้ายกับเห็ดนางฟ้าภูฏาน เพียงแต่ความชื้นที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดดอกจะมีสูงกว่า และจะต้องมีการพักตัวเพื่อสะสมอาหารของก้อนเห็ด ก่อนจะนำไปเปิดดอกเหมือนเห็ดหอม และในปัจจุบันเห็ดโคนญี่ปุ่นกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในลักษณะของการ จำหน่ายดอกเห็ดสดหรือเห็ดโคนญี่ปุ่นแปรรูปมีราคาที่ค่อนข้างสูงทีเดียวใน บรรดาเห็ดที่สามารถเพาะได้ในถุงพลาสติกเรียกได้ว่า ไม่ถูกไปกว่าราคาของเห็ดหอมเลยทีเดียว ซึ่งรสชาดของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวคือจะมีหมวกดอกที่เหนียว นุ่มเหมือนเห็ดหอมแต่บริเวณขาของเห็ด โคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อยเห็ดโคนญี่ปุ่นได้ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มายาวนาน จนในปัจจุบันนี้สายพันธุ์ที่ส่งเสริม หรือ แนะนำให้เพาะจึงง่ายต่อการดูแลรักษาแต่ให้ผลผลิตสูงเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ด ที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่นเวลา เคี้ยวจะได้รสชาติดีทำอาหาร ได้ทั้งผัดและต้มแกง ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆปัจจุบันเริ่ม มีการเพาะเห็ดนี้กันมากขึ้น แต่ผลผลิตยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

1.ธาตุอาหาร (Nutrition)
เห็ดเป็นพืชชั้นต่ำไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้(Hetrotroph)จึงจำเป็น ต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูปจากแหล่งต่างๆเช่นไม้ผุหรือปุ๋ยหมักเป็นต้น เป็นเห็ดที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยอาหารเชิงซ้อน โดยเฉพาะ พวกที่ให้พลังงานได้เช่นธาตุคาร์บอนที่อยู่ในรูปเชิงซ้อน ได้แก่ พวกลิกนิน (Lignin) ฮิมิเซลลูโลส (Hemicellulouse) โดยเส้นใยเห็ดมีน้ำย่อยทำการย่อยธาตุอาหารด้วยตัวมันเองได้ และนำเอาไปใช้พลังงานที่ใช้ในการเจริญเติบโต และแบ่งเซลของมันจากเหตุผลดังกล่าว จึงสามารถใช้วัสดุเพาะโดยตรงได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทำการหมักเสียก่อนยกเว้น วัสดุบางชนิดที่มียางที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด หรือ เป็นวัสดุที่แข็งยาว ยากต่อการนำเอาไปบรรจุในถุง เช่น ฟางข้าวต้น ข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ เป็นต้น ควรทำการหมักให้นิ่มก่อน หรือ ให้จุลินทรีย์ ช่วยย่อยให้ระดับหนึ่งก่อน แต่ไม่ถึงกับหมักจนเน่าสลายเหมือน การหมักปุ๋ยเห็ดฟาง เห็ดแชมปิญอง
2.อุณหภูมิ Temperature

3.ความชื้น Humidity
องค์ประกอบเห็ดทุกส่วน ไม่ว่าเส้นใยเห็ดหรือดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากถึง 90% ยกเว้นสปอร์น้ำมีความจำเป็นต่อกระบวนการต่างๆ และการรักษาสภาพอุณหภูมิภายในเซลล์ ดังนั้นทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด การเกิดดอกการเจริญเติบโตของดอกเห็ดล้วน แต่ต้องการความชื้นสูง โดยปกติแล้วเว้นเสียแต่ระยะที่ทำให้เกิดดอกต้องเปิดปากถุงให้สัมผัสกับ บรรยากาศโดยจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 80-90%
4.อากาศ (Air)
คำว่าอากาศในที่นี้ หมายถึง ก๊าซออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ จากภายในวัสดุเพาะหรือโรงเรือนเพาะเห็ด ทุกระยะของการเจริญเติบโตของเห็ดโคนญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ต้องการอากาศในการหายใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะของการสร้างและการเจริญเติบโตของดอกเห็ด
5.แสง (Light)

6.ความเป็นกรด-ด่าง (PH)
ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการอยู่ในระดับค่าเป็นกลาง 6.5-7.5
7.สารพิษ
ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารประกอบที่มีพิษกับการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
วัสดุ อุปกรณ์ ที่สำคัญในการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
วัสดุเพาะ วัสดุเพาะที่นิยมมากที่สุด คือขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้กระถินณรงค์ กากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะขาม ไม้ทุเรียน ไม้ขนุน ต้องทำการหมักสลายยางไม้เสียก่อน วัสดุเพาะที่นิยมกรณีที่ไม่มีขี้เลื่อย คือ ฟางข้าว ต้นข้าวโพดต้นข้าวฟ่าง วัสดุเพาะดังกล่าวนี้หากนำไปเพาะเห็ด จะทำให้ผลผลิตค่อนข้างสูงคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นไม้ รสชาติดีกว่า แต่ต้องทำการหมักจน
กว่าวัสดุเพะจะนิ่มและหอม จึงจะสามารถนำไปเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นได้สูตรอาหาร เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้น การที่จะเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ก็ควรทำการเสริม
หรือเติมธาตุอาหารที่เห็ดต้องการเข้าไปให้ครบถ้วน

สูตรส่วนผสมการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
รำอ่อน 100 กิโลกรัม
ปูนขาว 2 กิโลกรัม
ดีเกลือ 3 ขีด
พูไมท์ 2 กิโลกรัม
แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
น้ำ 60-70%
วิธีคลุกส่วนผสมและการนึ่งฆ่าเชื้อ
นำวัสดุส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ในขั้นสุดท้ายนำน้ำมาผสมลงไปให้พอเหมาะ อย่าให้แฉะเกินไป บรรจุลงถุงอัดให้แน่น ใส่คอขวดพลาสติค รัดด้วยยางรัด แล้วนำไปนึ่ง ในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง การจับเวลาในการนึ่งควรจับหลังจากที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมาเป็นเส้นตรง หลังจากนึ่งเสร็จแล้วปล่อยให้เย็น แล้วนำออกจากหม้อนึ่ง นำเข้าห้องเขี่ยเชื้อ

วัสดุในการเขี่ยเชื้อ
ขวดหัวเชื้อเห็ด
ตะเกียงแอลกอฮอล์
สำลี
ไม้ขีดไฟ
กระดาษหนังสือพิมพ์ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 2.5x4 นิ้ว
ยางรัด
ขั้นตอนการเขี่ยเชื้อ
จุดตะเกียงแอลกอฮอล์
นำขวดเชื้อมาลนไฟที่ตะเกียง
เช็ดมือให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70%
นำขวดเชื้อที่ลนไฟแล้วมาแคะหรือย่อยให้หัวเชื้อละเอียด
หลังจากเขี่ยเชื้อลงถุงเรียบร้อยแล้ว ปิดกระดาษ แล้วรัดด้วยยางรัดทันที
นำก้อนที่เขี่ยแล้วขึ้นตั้งเรียงไว้เพื่อบ่มเชื้อในโรงเรือนบ่ม ใช้ระยะเวลาในการบ่มประมาณ 45-50 วัน สามารถนำไปเปิดเอาดอกในโรงเรือนได้
เชื้อ 1 ขวด ควรเขี่ยลงถุงได้ 32-35 ถุง
ลักษณะโรงเรือนเห็ดโคนญี่ปุ่น

การดูแลรักษา
หลังจากบ่มเชื้อครบ 45-50 วัน แล้วนำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเปิดดอก โดยแกะกระดาษ เขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด ทำความสะอาดพื้นโรงเรือน รดน้ำให้ชุ่ม วันละ 3 เวลา คือเช้า เที่ยง เย็น เห็ดจะออกดอกได้ดี
วิธีการเก็บดอกเห็ด

"สำหรับราคาจำหน่ายเห็ดภายในฟาร์มมีดังนี้ ราคาดอกเห็ด เห็ดโคนญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 150-200 บาท เห็ดบด 100 บาท เห็ดขอนขาว 60 บาท เห็ดนางฟ้า-นางรม 50 บาท เห็ดเป๋าฮื้อ 60 บาท ส่วนราคาก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นก้อนละ 10 บาท ขอนขาว 6 บาท นางฟ้า นางรม 5 บาท เป๋าฮื้อ 7 บาท"
ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่ากิจกรรมหลักในสวนจะเป็นการเพาะเห็ด แต่ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำผสมผสานกันไป ซึ่งได้แก่ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าจำหน่าย การเลี้ยงกบ จำนวน 4 บ่อ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จำนวน 2 บ่อ เตาเผาถ่านคุณภาพสูง จำนวน 1 เตา เพื่อผลิตน้ำส้มควันไม้ เลี้ยงหมูป่า และหมูลูกผสม พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 4 ตัว ปลูกน้อยหน่า 50 ต้น ฝรั่ง 50 ต้น และปลูกไผ่บงหวาน จำนวน 100 กอ โดยกิจกรรมเสริมทั้งหมดนี้ได้ทำควบคู่ไปกับการเพาะเห็ด และก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกกิจกรรม ทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นลำดับ

ปัจจุบันคุณสุภีร์ ดาหาร ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้าน ให้เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย หมู่ที่ 19 ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และยังให้ความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองขอนแก่น ใช้ฟาร์มเห็ดของตนเองเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ท่านใดสนใจอยากจะเยี่ยมชมผลงานหรือสอบถามความรู้และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (081) 975-2612, (043) 261-835
แหล่งที่มา : ฟาร์เห็ดดอทคอม
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)